ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อชะลอตัวลงในเดือน พ.ค. และผู้บริโภคลดการใช้จ่ายขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 4.6% ในเดือน พ.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่การใช้จ่ายส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนพ.ค. หลังเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือน เม.ย.
ค่าเงินบาทเปิดวันจันทร์แข็งค่าในวันจันทร์
ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐชะลอตัวลง และจะลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
หุ้นไทยครึ่งปี 66 ต่างชาติเทขาย 1 แสนล้านบาท กดดัชนีร่วง 10% เงินบาทอ่อนยวบ
ครึ่งปีแรกต่างชาติเที่ยวไทย 12 ล้านคน เร่งอนุมัติวีซ่าดันยอดตามเป้า คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 287 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยสุทธิ 1,708 ล้านบาท
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออก แนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 35.50 บาท/ดอลลาร์
ด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงคืนวันศุกร์ของสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทดสอบโซน 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ หลังเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงจากรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ส่วนราคาทองคำก็รีบาวด์ขึ้นทดสอบโซน 1,930 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลง หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด
ในสัปดาห์นี้ รอรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และการเติบโตของค่าจ้าง พร้อมจับตาสถานการณ์การเมืองไทย อย่างใกล้ชิด
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า แม้ว่าโมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าจะแผ่วลง แต่ควรระวังความผันผวนจากสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งอาจกระทบต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้ ทั้งนี้ แนวต้านของเงินบาทจะอยู่ในโซน 35.75 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ แนวรับแรกจะอยู่ในโซน 35.15-35.25 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนดังกล่าวก็อาจแข็งค่าต่อทดสอบแนวรับสำคัญแถว 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ ซึ่งยังคงเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินบาทพอสมควรในช่วงนี้